ที่มา


ภาพเหมือน ในสมัยแรกที่พบเป็นภาพเขียนสำหรับปิดศพที่รู้จักกันว่า เฟยุมมัมมี่” (Fayum mummy) ในประเทศอียิปต์ที่ถูกรักษาไว้เป็นอย่างดีเพราะความแห้งของอากาศในทะเลทราย เฟยุมมัมมี่เป็นภาพเขียนจากสมัยจักรวรรดิโรมันอย่างเดียวที่พบนอกไปจากจิตรกรรมฝาผนัง
ในสมัยโรมันศิลปะภาพเหมือนนิยมกันในการทำประติมากรรมซึ่งผู้เป็นแบบต้องการให้เหมือนตนเองจริงๆ ถึงแม้ว่าบางครั้งผู้เป็นแบบอาจจะมีรูปร่างลักษณะที่ไม่เรียกว่าสวย ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 4 ภาพเหมือนเริ่มละทิ้งความเป็นจริงมาหาความเป็นจินตนิยมเป็นภาพเหมือนที่ผู้เป็นแบบต้องการให้จิตรกรสร้างภาพที่ ควรจะมีหน้าตาอย่างที่ต้องการ ซึ่งจะเห็นได้จากประติมากรรมเหมือนของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1[1] และจักรพรรดิทีโอโดเซียสที่ 1[2] ในยุโรปการเขียนภาพเหมือนแบบเหมือนจริงมานิยมกันอีกครั้งในสมัยปลายยุคกลาง ในบริเวณเบอร์กันดีในประเทศฝรั่งเศส
งานภาพเหมือนที่มีชื่อที่สุดที่เป็นที่รู้จักันทั่วโลกคือภาพ โมนาลิซาโดย เลโอนาร์โด ดา วินชีเป็นภาพสตรีที่ไม่ทราบชื่อที่มีรอยยิ้มปริศนา ภาพเหมือนที่เก่าที่สุดเท่าที่ทราบพบเมื่อปี ค.ศ. 2006 โดย เจอราร์ด โจดีย์ นักโทษท้องถิ่นในถ้ำวิลโอเนอร์ไม่ใกลจากอังโจเลม ที่เชื่อว่ามีอายุถึง 27,000 ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น